วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


บันทึกการเรียนครั้งที่8

วัน พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ. 2555
    
      -  ในวันนี้อาจารย์ได้ตกลงเรื่องการแต่งกายมาเรียน   โดยที่อาจารย์ได้พูดว่า  "เครื่องแบบไม่ได้ทำให้พัฒนาสมองให้ดีขึ้น  แต่เครื่องแบบเป็นการสท้อนถึงองค์กร
      -  อาจารย์เอารูปที่เด็กวาดด้วยคอมพิวเตอร์มาให้ดู  แล้วให้ดูว่า รูปนี้บอกอะไรกับเราเห็นอะไรบ้าง
                 1.  นึกถึงคำหรือภาษาที่เด็กใช้
                 2.  การวาดภาพเห็นถึงพัฒนาการทางกล้ามเนื้อมือ - ตา เพื่อเตรียมการเรียน
                 3.  ได้เห็นถึงความต้องการของเด็ก  เพื่อให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์
                 4.  การเขียนตัวหนังสือ  สามารถเขียนมีหัวได้ถูกต้อง
                 5.  การเขียนชื่อตัวเองได้
                 6.  การสอนเรื่องการลงท้าย ครับ  ค่ะ

รูปเด็กอนุบาล 4 คน กำลังใช้ภาษาสื่อสารกัน
       -  มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรุปแบบ  วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  คือ การใช้ภาษาพุดและการเขียน  การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว  จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร  การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น
      -  ฟังและพูด  โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจ  และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่  เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 ปี
      -  สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก  และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ก็คือ  ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์  ด้านการนำไปใช้  ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาาาให้แก่เด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

      อิทธิบาท4

  อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท เป็นศัพท์ในพุทธศาสนา หมาย ถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี 4 ประการ คือ

1.ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป
2.วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
3.จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
4.วิมังสา (ความ ไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง

บันทึกการเรียนครั้งที่7


วัน พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2555

-วันนี้อจารย์ได้เปิดวีดีโอจาก เวปไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)
การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
และ อาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก  และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?   กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ
อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อค

บันทึกการเรียนครั้งที่6

วัน พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2555
 

-ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา  Present  งานในรูปแบบ Powerpoint ที่นักศึกษาไปเล่านิทานให้เด็กฟัง โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้ Present  เป็นกลุ่มแรก
-กลุ่มข้าพเจ้าได้ ไปเล่านิทานเรื่องอ๊อบ อ๊อบ ฉันคือกบ ให้ น้อง นานา อายุ3ขวบ ฟัง เมื่อข้าพเจ้าเล่าน้องตั้งใจฟังเป็นอย่างดีเมื่อข้าพเจ้าเล่า เสร็จได้ตั้ง คำถาม ถามน้องว่า
1.นิทานเรื่องนี้สนุกไหมคะ   น้องพยัคหน้าแล้วตอบว่าสนุก
2.กบมีสี อะไรค่ะ น้องตอบ ว่าสีเขียวแล้วหัวเราะ
3.ถ้าน้องว่า กบมีลายจุดบนกลางตัวไว้ทำไมค่ะ น้องตอบว่า ไว้ แอบๆๆๆ นกค่ะ
4.ถามน้องว่ากบ ชอบบรรยากาศแบบไหนค่ะ น้องตอบว่า แบบเย็นๆค่ะ เพราะมันสบายดี
       

บันทึกการเรียนครั้งที่5

วัน พฤหัสบดี ที่ 5 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2555
  
            -   วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Powerpoint  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป   เนื่องจากอาจารย์จะต้องไปส่งพี่ที่ฝึกงานที่ ลำลูกกา
                                         

บันทึกการเรียนครั้งที่4

 วันพฤหัสบดี ที่ 29 เดือนธันวาคม พ.ศ.2554
                                           
 -วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนส่งงานที่ได้รับมอบหมายและให้นักศึกษาไป ดูกิจกรมวันปีใหม่ของเด็กๆที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สัปดาห์หน้าให้นักศึกษาPresentงานของตัวเอง

บันทึกการเรียนครั้งที่3

วันพฤหัสบดี ที่ 22 เดือนธันวาคม พ.ศ.2554

           -วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษารายงาน งานที่มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้วหน้าชั้นเรียนพร้อมเปิดวีดีโอ
และอาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา
           - ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กสองภาษา ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมี ความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจดังกล่าวนำไปสู่การจัดประสบการณ์ทางภาษาอย่างเหมาะสมสำหรับ เด็ก ทั้งนี้ ครูที่จัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่ง และพูดภาษาไทยกลางเป็นภาษาที่สอง ควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาถิ่นและภาษาไทยกลางเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาถิ่น และภาษาไทยกลางจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของ ภาษาด้วยตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และสถานการณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ครูและเด็กเรียนรู้และพัฒนาการใช้ภาษาของ ตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ

งานที่ได้รับมอบหมาย
           -ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก3ข้อและบันทึกมาส่งอาจารย์
           -ให้หาประวัตินักการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษาส่งสัปดาห์ถัดไป

บันทึกการเรียนครั้งที่2

วันพฤหัสบดี ที่ 15 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

           วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
-การจัดประสบการณ์ทางภาษาคือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และคือพัฒนาการที่แสดงออกทางพฤติกรรมทั้ง4ด้าน
-วิธี การเรียนรู้ คือ การสังเกต การสัมผัส การฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรส และถ้าจะให้อิสระแก่เด็กต้องให้อิสะในการเลือก การตัดสินใจเอง และการลองผิดลองถูก
-การจัดประสบการณ์ มีเทคนิค  การประเมิน  รูปแบบ สื่อหลักการ ขั้นตอน

งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์เด็กพร้อมวีดีโอ ส่งสัปดาห์หน้าพร้อมรายงาน

บันทึกการเรียนครั้งที่1

วันพฤหัสบดีที่ 8 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

          -ไม่มีมีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
          -อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้ซื้อต้นดาวเรืองมากลุ่มละ 1 ต้น